ชื่อเรื่อง นวัตกรรม “รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า”
ผู้วิจัย นายเกรียงไกร โมราบุตร
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 29 กรกฎาคม 2567
บทคัดย่อ
นวัตกรรม “รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า”
ในการออกแบบนวัตกรรม “รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า” เป็นนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีกระบวนการของรูปแบบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Output)
4) ผลลัพธ์ (Outcome )และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่
1.1 นโยบาย (Policy) โรงเรียนวัดถ้ำเต่ามีการศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546นโยบาย คู่มือ แนวทาง ของหน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
1.2 วิสัยทัศน์ (Vision) โรงเรียนวัดถ้ำเต่ามีการนำวิสัยทัศน์ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อ ปรับให้มีความเหมาะสมกับการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.3 พันธกิจ (Mission) คือสิ่งที่โรงเรียนจะทำเพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ไปสู่เป้าหมาย
1.4 เป้าประสงค์ (Goal) คือ สิ่งที่โรงเรียนวัดถ้ำเต่าต้องการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่จะสามารถจะดำเนินการได้ตาม และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ ซึ่งเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ แต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายต่างหาก ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสำเร็จหรือไม่
2. กระบวนการ (Process) ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน กระบวนการการดำเนินกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้นวัตกรรม “รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า” ดังนี้
2.1 ศึกษากระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และ 5) การส่งต่อ
2.2 ใช้ “WTT Model”ของโรงเรียนวัดถ้ำเต่า มาพัฒนาเป็นนวัตกรรม “รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า” คือ 1) W คือ Willingness หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูทุกคนต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำด้วยความเต็มใจ 2) T คือ Teamwork หมายถึง ครูทุกคนมีการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ ด้วยระบบทีมงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) T คือ Technology หมายถึง ครูทุกคนต้องนําเทคโนโลยี นวัตกรรมใหมๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดเวลาและภาระงาน โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
2.2.1 หลักกการใช้ “WTT Model” ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
W คือ Willingness หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูทุกคนต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำด้วยความเต็มใจ
T คือ Teamwork หมายถึง ครูทุกคนมีการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ ด้วยระบบทีมงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
T คือ Technology หมายถึง ครูทุกคนต้องนําเทคโนโลยี นวัตกรรมใหมๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดเวลาและภาระงาน
2.2.2 การดำเนินงานด้วยกระบวนการ PDCA คือ
ขั้นที่ 1 (P) Plan การวางแผน ได้แก่ การศึกษา เอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วีดีโอการดำเนินงาน คู่มือ แนวทางในการดำเนินงาน และสอบถามผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นที่ 2 (D) Do การปฏิบัติ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแล
ครบองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และ 5) การส่งต่อโดยมุ่งเน้นการดำเนินงาน ด้วยระบบทีมงาน ตามรูปแบบของ WTT
ขั้นที่ 3 (C) Check การตรวจสอบ ได้แก่ คณะกรรมการที่รับผิดชอบการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดถ้ำเต่าอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงาน และหลังจากการดำเนินงานสิ้นสุด
ขั้นที่ 4 (A) Act การปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การนำผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนวัดถ้ำเต่า มาปรับปรุง แก้ไข ให้มีความเหมาะสม เพื่อใช้ในการดำเนินการครั้งต่อไป
3. ผลผลิต (Output)
3.1 Good Students (นักเรียน