ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ผ่านกิจกรรม Unplugged Coding แบบอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น วิชาฟิสิกส์ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอุดมวิทยายน
ผู้วิจัย นางสุชาดา ชูสุคนธ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 11 สิงหาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะ Grit ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ในวิชาฟิสิกส์ 3 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ที่ได้รับจัดการเรียนรู้แบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ผ่านกิจกรรม Unplugged Coding
แบบอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น 3) เพื่อความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ผ่านกิจกรรม Unplugged Coding
แบบอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm and Flowchart) เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนอุดมวิทยายน
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SUCHADA
Model บนพื้นฐานของ Grit 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ตามกลวิธีอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ t-test แบบ dependent sample และ การทดสอบ t-test แบบ one samples
ผลสรุปที่ได้จากการวิจัย
มีดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 มีคุณลักษณะของ Grit อยู่ในระดับปานกลาง
2.
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ
SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit ผ่านกิจกรรม
Unplugged Coding แบบอัลกอริทึมและผังงาน (Algorithm
and Flowchart) ผลการเรียนรู้ เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ Grit
ผ่านกิจกรรม Unplugged Coding แบบอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) ผลการเรียนรู้ เรื่อง
การแทรกสอดของคลื่น สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2 มีความพึงพอใจต่อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SUCHADA Model บนพื้นฐานของ
Grit ผ่านกิจกรรม Unplugged Coding แบบอัลกอริทึมและผังงาน
(Algorithm and Flowchart) เรื่อง การแทรกสอดของคลื่น
วิชาฟิสิกส์ 3 อยู่ในระดับมาก มาก (X= 4.37, S.D. = .18)