Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้ TKKR Model เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครู

ผู้วิจัย โรงเรียนตะกั่วป่าคีรีเขต

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 31 สิงหาคม 2567

บทคัดย่อ

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาแบบ “TKKR Model

การออบแบบนวัตกรรม “TKKR Model” ใช้หลักวงจรการจัดการ 4 ขั้นตอน ตามทฤษฎีวงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) หรือ PDCA ที่มีกระบวนการดำเนินงาน เริ่มด้วย Plan = การวางแผน Do = ปฏิบัติ Check = ตรวจสอบ Act = ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

         

 

 

กระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาโดยรูปแบบ “TKKR Model”  มีกระบวนการ ดังนี้

          1. T : Team work = เป็นการเริ่มต้นการวางแผนเป็นทีม การวางแผนร่วมกันทั้งนิเทศและผู้รับการนิเทศ

2. K : Knowledge = เป็นการให้ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3. K : Kee Pit up = เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

4. R : Reflex =  เป็นการสะท้อนกลับในการจัดเรียนการสอนในชั้นเรียนหลังจากได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหรือควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป

วิธีดำเนินการ การปฏิบัติการนิเทศภายในเป็นการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการนิเทศภายในโรงเรียน ซึ่งได้กหนด ขั้นตอนการดเนินงาน ดังนี้

1. T : Team work = เป็นการเริ่มต้นการวางแผนเป็นทีม การวางแผนร่วมกันทั้งนิเทศและผู้รับการนิเทศ ซึ่งจะสอดคล้องกับ Plan = การวางแผน การประชุมก่อนเปิดภาคเรียน หมายถึง การนัดหมายบุคคลในโรงเรียน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ โรงเรียน มาร่วมประชุมปรึกษา หารือ ชี้แจงหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการด้านต่าง ๆ และปรับความคิดเห็นของบุคลากรให้ได้ข้อสรุปในการปฏิบัติงานเป็น แนวทางเดียวกัน จัดทปฏิทินในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถจัดการเรียนการสอนได้ทันทีในวันเปิดภาคเรียน

2. เป็นการให้ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะสอดคล้องกับ Do = ปฏิบัติ ในการนิเทศจะต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนจะต้องจัดทแผนการจัดการเรียนรู้อย่างน้อยภาคเรียน ละ 1 รายวิชา โดยส่งแผนการจัดการจัดการเรียนรู้ไปยังผู้นิเทศ หลังจากนั้นก็เริ่มการนิเทศติตามชั้นเรียนตามลำดับ

3. K : Kee Pit up = เป็นการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะสอดคล้องกับ Check = ตรวจสอบ การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน หมายถึง การจัดให้บุคคลหนึ่งหรือทีมบุคคลที่มีความรู้ความ เข้าใจในการเรียนการสอนมาสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูในขณะทการสอน เพื่อให้ครูสามารถพัฒนา หรือปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ข้อมูลย้อนกลับจากการสังเกตการณ์สอนของผู้นิเทศ

4. R : Reflex =  เป็นการสะท้อนกลับในการจัดเรียนการสอนในชั้นเรียนหลังจากได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหรือควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป  ซึ่งจะสอดคล้องกับ Act = ปรับปรุงการสังเกตการณ์สอน เป็นกระบวนการปฏิบัติอย่างน้อย 5 ขั้นตอน

4.1 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นิเทศ กับ ผู้รับการนิเทศ

4.2 การปรึกษาหารือเกี่ยวกับการทำแผนการสอนและการสังเกตการณ์สอน

4.3 การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน

4.4 การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนกาสอนร่วมกัน

4.5 การปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอน