ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
ผู้วิจัย นายศานติกรศิ์ วงค์เขียว
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 18 กันยายน 2567
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่
1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
โดยการสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบงานคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
(Best Practice)
สอบถามความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่
2 การพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ขั้นตอนที่
3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
โดยการทดลองใช้กับครูโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
มีการสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการปฏิบัติตามรูปแบบและประเมินคุณลักษณะคนดีของชุมชน
ได้แก่ ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรม ด้านทัศนคตเชิงจริยธรรม
และด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสบปราบพิทยาคม จำนวน790คน และขั้นตอนที่ 4
การประเมินผลรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
โดยครูประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ และครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน
ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
ปีการศึกษา 2566 และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชน
ดังนี้ 1)
นักเรียนบางส่วนมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชุมชน ได้แก่ 1.ไม่สุภาพอ่อนน้อม ไม่เคารพเคารพผู้ใหญ่
2.สร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน 3.ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด การพนัน
อบายมุข 4. ไม่จิตสาธารณะ
จิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน 5. ไม่ร่วมทำกิจกรรมชุมชน ไม่มีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นน้อย และ7) เข้าวัดวันพระไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง และ2) แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชน
โดยมีกระบวนการซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมการ ได้แก่ การวิเคราะห์บริบท การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
การจัดทำข้อตกลงร่วมกัน การบันทึกข้อตกลง(MOU)
และการประกาศเจตนารมณ์ ระยะที่ 2
ปฏิบัติการ ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักและความเข้าใจ 2) การคัดเลือกครูแกนนำ
นักเรียนแกนนำ 3) กำหนดเป้าหมายและจัดทำแผนปฏิบัติการ 4)
การเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งกันและกัน 5) การสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่าย 6) การบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอน
7) การส่งเสริมสนับสนุนด้วยกิจกรรม/โครงงาน/โครงการ
และปฏิบัติในสถานที่จริง 8) การเสริมแรงเสริมกำลังใจ 9)การสร้างทัศนคติ/วิธีคิดเชิงบวก 10 ) การนิเทศติดตาม
11) การทบทวนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ประเมินผล
และรายงานความก้าวหน้า 12) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปรายงานผล
และ13) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมความดีให้องค์กรอื่น และระยะที่
3 สะท้อนคิด ได้แก่ ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นหลังปฏิบัติการเสร็จสิ้น การสะท้อนผลการดำเนินงาน และการปรับเปลี่ยนและวางแผนนำความรู้ใหม่ไปใช้
2. ผลการพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหาร
ดังนี้
2.1 รูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทิศทาง 2) ระบบและกลไก 3) กระบวนการ และ4) ผลลัพธ์ ซึ่งผลการตรวจสอบความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ทั้งสองด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ ส่วนที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย บริบทของโรงเรียน
และความเป็นมาและความสำคัญ ส่วนที่
2 วัตถุประสงค์ของคู่มือ ส่วนที่ 3
แนวทางการดำเนินการตามรูปแบบ ประกอบด้วย ทิศทาง
กลไกและรูปแบบ และกระบวนการ และส่วนที่ 4 แนวทางการวัดเชิงจริยธรรมคุณลักษณะคนดีของชุมชน
(ผลลัพธ์)ประกอบด้วย วิธีการวัดเชิงจริยธรรม เครื่องมือวัดเชิงจริยธรรม
และการวัดและประเมินผลเชิงจริยธรรม ซึ่งผลการตรวจสอบความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ทั้งสองด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลทดลองใช้รูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม ดังนี้
3.1 ผลการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคมของครูโรงเรียนสบปราบพิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการประเมินคุณลักษณะคนดีของชุมชน
แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1
ด้านเหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่ 2
ด้านทัศนคติเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมาก และด้านที่ 3 พฤติกรรมเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม ดังนี้
4.1 ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชนของโรงเรียนสบปราบพิทยาคมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ ,
รูปแบบการบริหารการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม , กระบวนการสร้างคนดีให้ชุมชน ,
โรงเรียนสบปราบพิทยาคม