ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
ผู้วิจัย นิติมา มณีวิทย์
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 14 ตุลาคม 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 2) พัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 3) ทดลองใช้ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 4) ประเมินรับรองระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึก แบบประเมิน และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล พบว่า
1.1 สภาพปัจจุบัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล สูงสุดได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกร
1.2 ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณลักษณะตามอุดมการณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล สูงสุด ได้แก่ ด้านที่ 3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัยนักประดิษฐ์ คิดค้นและนักพัฒนา ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับเดียวกันกับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ
1.3 ผลการศึกษาระดับทักษะครูผู้สร้างนวัตกรของครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทักษะการเชื่อมโยง (Associating Skill) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ทักษะการใช้เครือข่ายทางความคิด (Networking Skill)
2. ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา: กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ช่องว่างทางทักษะ (Identify Skills Gaps) 2) การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Professional Development Plan) 3) กระบวนการพัฒนา (Development Process) 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนแห่งการปฏิบัติ (Professional Learning Community) 5) การประเมินผลการพัฒนาทางวิชาชีพ (Evaluation for Professional Development) และส่วนที่ 3 ส่วนปัจจัยสนับสนุน
3. ผลการทดลองใช้ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล พบว่า
3.1 ครูมีระดับทักษะที่เพิ่มขึ้นในทุกทักษะ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับทักษะเพิ่มขึ้นสูงสุดคือ ทักษะการใช้เครือข่ายทางความคิด (Networking Skill)
3.2 ครูมีพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ตามระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกระดับชั้น ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยม
3.4 นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติทุกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.5 นักเรียนมีคุณลักษณะตามอุดมการณ์ของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ
ราชวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.6 นักเรียนได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงงานและนวัตกรรมในการแข่งขันเพิ่มขึ้นทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
3.7 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.8 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการทดลองใช้ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรับรองระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาทักษะนวัตกรโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินการรับรองรูปแบบ พบว่า ในภาพรวมรายส่วน และรายการทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน