Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ Generative AI เพื่อพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณ โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง

ผู้วิจัย วสันต์ แปงจิตต์

ปีการศึกษา 2567

วันที่เผยแพร่ 15 ตุลาคม 2567

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการใช้ Generative AI เพื่อพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ Generative AI และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการใช้ Generative AI ในการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณในโรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการใช้ Generative AI เพื่อพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.02, S.D. = 0.80) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการใช้ Generative AI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (β = 0.442, p < 0.01) ปัจจัยด้านองค์กร (β = 0.273, p < 0.05) และปัจจัยด้านการอบรมและพัฒนา (β = 0.213, p < 0.05) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จได้ร้อยละ 61.0 และ 3) ระดับความพึงพอใจต่อการใช้ Generative AI ในการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13, S.D. = 0.76)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ Generative AI ในการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอนรายวิชาวิทยาคำนวณและวิชาอื่นๆ ต่อไป

คำสำคัญ : Generative AI, การวิจัยในชั้นเรียน, วิทยาการคำนวณ, โรงเรียนเอกชน