Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนถนนสุรนารายณ์(คุรุรัฐประชาสรรค์)

ผู้วิจัย ปาลิดา ธนะกุลภาคิน

ปีการศึกษา 2564

วันที่เผยแพร่ 13 พฤศจิกายน 2567

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

          การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนถนนสุรนารายณ์(คุรุรัฐประชาสรรค์) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ปีที่ศึกษา 2564 กระบวนการพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ  ระยะที่ 1 ศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศึกษาตำรา เอกสาร ทฤษฎี งานวิจัย  ระยะที่ 2 พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ โดยศึกษาตำรา เอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในระยะที่ 1 เพื่อได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้อง เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียน แล้วทำการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ระยะที่ 3 ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ นำกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดของสถานศึกษา ประเมินผล สรุปผลการดำเนินการ

          ผลการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณภาพ ร้อยละ 76.97  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ลมบก ลมทะเล และมรสุม  ค่าความแตกต่างของคะแนนร้อยละ ก่อนเรียน-หลังเรียน ร้อยละ 31.80  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ปรากฏการณ์เรือนกระจกและภาวะโลกร้อน  ค่าความแตกต่างของคะแนน  ร้อยละ ก่อนเรียน-หลังเรียน   ร้อยละ 33.64  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภัยธรรมชาติ  ค่าความแตกต่างของคะแนนร้อยละ ก่อนเรียน-หลังเรียน ร้อยละ 32.27 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง (Co-5 STEPs)  ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องผสมผสานสาระการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนและสมดุลกัน ปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์   และเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์