ชื่อเรื่อง แบบรายงานผลนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๗ โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
ผู้วิจัย จิระภา สมัครพงษ์
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 28 พฤศจิกายน 2567
บทคัดย่อ
ชื่อเจ้าของผลงาน
นางสาวจิระภา
สมัครพงษ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
ชื่อผลงาน สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ
PW
– CAER MODEL
๑. ความสำคัญของผลงาน
๑.๑
ความสำคัญสภาพปัญหา
โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
เป็นโรงเรียนแห่งโอกาสทางการศึกษา
มุ่งพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านศึกษาของเยาวชนอย่างทั่วถึงครอบคลุมนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง
ซึ่งมีมิติวัฒนธรรมความเป็นอยู่ใช้ชีวิตที่หลากหลายของคนในครอบครัวที่แตกต่างออกไป
ส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวที่แตกแยก ขาดความอบอุ่น พฤติกรรมไม่พึ่งประสงค์
และการขาดเรียนบ่อยๆ โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม เห็นความสำคัญจากปัญหาดังกล่าว
จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้ว่า
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบ 5 ประการได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน
การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ ซึ่งโรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
ยึดถือเป็นภารกิจหลักที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ จากการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้มีการเปรียบเทียบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ภาคเรียนที่ 2/ 2566 และภาคเรียนที่ 2/2567 พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่
มาโรงเรียนสาย หนีเรียน แต่งกายไม่เรียบร้อย ทะเลาะวิวาทใช้ความรุนแรง การติดเกม
เพิ่มขึ้นร้อยละ ปัญหาเหล่านี้ได้รับแก้ไขและแก้ปัญหาโดยใช้ระบบกระบวนการ PLC
ในชั้นเรียน ของครูที่ปรึกษาหัวหน้าระดับแต่กลับไม่สามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้
จากการสำรวจรายงานผลพบว่าปัญหาเกิดจากนักเรียนไม่มีความสุข รู้สึกเบื่อ ทำให้นักเรียนไม่อยากมาโรงเรียน
มีคำถามว่าเราจะทำให้นักเรียนมีความสุขได้อย่าง ซึ่งคำถามนี้ยังคงเป็นประเด็นท้าท้ายมาจนถึงปัจจุบัน
นวัตกรรม “สร้างสุขในโรงเรียนด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบ
PW
– CAER MODEL” ถือเป็นหนึ่งของการปฏิบัติที่มีความเป็นเลิศที่ได้แรงบันดาลใจจากคำว่า
“เราจะสร้างความสุขของนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างไร”
นวัตกรรมนี้เกิดจากการกระบวนการ PLC และ PW – CAER
MODEL ผ่านระบบ PDCA ด้วยการช่วยเหลือ เอาใจใส่
สนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะผู้บริหาร ครู สภานักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทร่วมแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
๑.๒
แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา
1. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
2. สร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบ
3. ร่วมกันแก้ไขปัญหา
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๑. เพื่อ ลด ละ เลิก พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (สูบบุหรี่
มาโรงเรียนสาย หนีเรียน แต่งกายไม่เรียบร้อย ทะเลาะวิวาท)
๒. เพื่อส่งเสริมความสุขของนักเรียนในโรงเรียน
เชิงปริมาณ
1. ผู้เรียน ร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สถานศึกษากำหนด
2.
ครู ร้อยละ 100 สามารถดูแลนักเรียนผ่านกระบวนการของระบบช่วยเหลือนักเรียน
เชิงคุณภาพ
1.
ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก
2. ครูมีความสามารถในการจัดระบบการช่วยเหลือนักเรียนนอยู่ในระดับดีขั้นไป
3.
โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนอยู่ในระดับดีมากขั้นไป