Vichakan.net - เผยแพร่ผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง การบริหารจัดการกระบวนการนิเทศเพื่อเสริมสร้างพลังและศักยภาพครูสู่คุณภาพผู้เรียน ด้วย B-TIPS Model (Buddy Teacher Innovation For Professional Support) ของโรงเรียนบ้านบาตัน (ฟลอยด์รอสอนุสรณ์)

ผู้วิจัย นางซาลีตา เจะมิง

ปีการศึกษา 2566

วันที่เผยแพร่ 13 ธันวาคม 2567

บทคัดย่อ

ที่มาและปัญหา

โรงเรียนบ้านบาตัน (ฟลอยด์รอสอนุสรณ์) พบปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เนื่องจากครูขาดความมั่นใจและทักษะในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาเหตุหลักมาจากกระบวนการนิเทศที่เน้นประเมินและจับผิด ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู และภาระงานที่มากเกินไป โรงเรียนจึงพัฒนานวัตกรรม B-TIPS MODEL (Buddy Teacher Innovation for Professional Support) เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยผสานแนวคิดสำคัญ เช่น ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีการนิเทศแบบคลินิก และแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) องค์ประกอบหลักของนวัตกรรมนี้ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่

Building Relationship: สร้างบรรยากาศที่ไว้วางใจ

Target Setting: กำหนดเป้าหมายร่วมกัน

Implementation: นิเทศแบบกัลยาณมิตร

Professional Growth: ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครู

Sustainable Support: สร้างระบบสนับสนุนอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศการเรียนการสอนแบบคู่ (Buddy) ที่เสริมสร้างพลังและศักยภาพครูสู่คุณภาพผู้เรียน

 2.เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพร่วมกันระหว่างครูผู้สอนในโรงเรียน

 3. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูทั้ง ๑๕ คน ผ่านกระบวนการนิเทศแบบ Buddy

 4. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนทั้ง ๑๑๗ คน

 5.เพื่อสร้างระบบการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างยั่งยืนในโรงเรียน 

  เป้าหมาย

  เป้าหมายเชิงปริมาณ

   1. ครูทั้ง 15 คน ได้รับการนิเทศแบบ Buddy และมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง

   2. นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งหมด 117 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดีขึ้นไป

   เป้าหมายเชิงคุณภาพ

   1. ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านกระบวนการนิเทศแบบ Buddy

   2. นักเรียนมีความสุขและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ส่งผลให้มีพัฒนาการด้านการเรียนที่ดีขึ้น

   3. เกิดวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ยั่งยืนในโรงเรียน


ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     1. ครูมีความมั่นใจและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

     2. นักเรียนมีความสุขและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น

     3. เกิดวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและเครือข่ายการศึกษา

     4. ขยายผลนวัตกรรมสู่โรงเรียนเครือข่าย ยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยรวม