ชื่อเรื่อง การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
ผู้วิจัย สันติ พันธ์พุฒ
ปีการศึกษา 2566
วันที่เผยแพร่ 14 มกราคม 2568
บทคัดย่อ
การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ
Active Learning ของโรงเรียนเทศบาล 5
(กระดาษไทยอนุเคราะห์)
The Estimation and the Lesson Learned Visualizing of the
Professional Learning Community Project (PLC Project) in Order to Increase the
Active Learning Skills of the Students of Tessaban 5 School (Kradatthaianukroc)
สันติ พันธ์พุฒ
โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
Santi Phanphut
Tessaban 5 School (Kradatthaianukroc)
บทคัดย่อ
การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(PLC) เพื่อส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนเทศบาล
5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) มีวัตถุประสงค์ 1)
เพื่อประเมินโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active
Learning ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต
ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active
Learning 3) เพื่อถอดบทเรียนโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น
ครู 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครอง 169 คน และนักเรียน 169 คน ผลการประเมินพบว่า 1)
การดำเนินงานโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ
Active Learning ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ
ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล
ด้านความยั่งยืน ด้านการ
ถ่ายโยงความรู้ มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning สรุปได้ว่า การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
สู่สถานศึกษา ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ครูที่เข้าร่วมโครงการนำกระบวนการตามกรอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ต้องเลือกวิธีการหรือแนวทางที่ดีที่สุด และครูที่เข้าร่วมต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้สมาชิกได้รับทราบร่วมกัน
สมาชิกมีภาวะผู้นำ และผู้ตามที่เหมาะสม มีการตัดสินใจร่วมกัน
สมาชิกในทีมการนำเอาทักษะความรู้
ความสามารถที่หลากหลายของสมาชิกในทีมเขามาทำงานร่วมกันโดยการผสมผสานความคิด
เพื่อแสวงหาจุดร่วมของการทำงาน 3) การถอดบทเรียน สรุปว่า สมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) บางส่วนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานน้อย
จึงต้องผลักดันการดำเนินงานโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้อยู่ในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
เนื่องจากทำให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่รับรู้โดยทั่วถึงกัน
และยึดถือที่จะต้องรับผิดชอบการดำเนินงานร่วมกัน
รวมทั้งจะทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากร ทั้งงบประมาณ บุคลากร เวลา
และสถานที่ให้กับการดำเนินงานเป็นการเฉพาะ
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย
คำสำคัญ : ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การเรียนรู้แบบ
Active Learning
Abstract
The
Estimation and the Lesson Learned Visualizing of the Professional Learning
Community Project (PLC Project) in Order to Increase the Active Learning Skills
of the Students of Tessaban 5 School (Kradatthaianucroc) were as follows. 1) To estimate the professional learning
community project (PLC Project) in order to increase the active learning skills
of the students based on the aspects of the context, the input factors, the
processes, the products, the impacts, the efficiency, the sufficiency and the
knowledge transfer. 2) To study the guidance of community movements through the
professional learning community project (PLC Project) in order to increase the
active learning skills of the students. 3) To visualize the lesson learned of
the project. The target group of this research consisted of 32 teachers, 13
officials of Office of Basic Education Commission, 169 guardians and 169
students. The estimation results presented as follows. 1) The operational
result of the professional learning community project (PLC Project) in order to
increase the active learning skills of the students based on the aspects of the
context, the input factors, the processes, the products, the impacts, the
efficiency, the sufficiency and the knowledge transfer was at a high level. 2)
The result of the guidance of community movements through the professional
learning community project (PLC Project) in order to increase the active
learning skills of the students found that the professional learning community
movements should be rapidly operated and applied to the academic institute. So
the teachers attending the project could use the process based on the framework
of the professional learning community to truly develop the qualities of the
students. The best process or guidance should be selected and the teachers
attending the project must reveal the useful information to all of the members
to know it. The members should have proper qualities of leadership and
fellowship. The members of the team
could make decisions as well as could use the various knowledge and skills of
the members to work together. Brainstorming should be applied to reach the
concepts of the project. 3) The results of the lesson learned visualizing of
the project presented that some members of
the professional learning community (PLC) paid less attention to the
operation so the operation of the professional learning community project (PLC
Project) in order to increase the active learning skills of the students should
be listed in the operational plans of Tessaban 5 School (Kradatthaianucroc). It
would make all of the personals and officials know the plans and they would be
determinedly responsible for the project
together. Moreover, the sharing of resources, budgets, personals, time and
locations for the project operation could be done specifically so that the
operation of the project would be effective and productive according to the
plans.
Keywords :
Professional Learning Community (PLC), Active Learning