ชื่อเรื่อง อนุรักษ์แพทย์แผนไทย ด้วยสมุนไพรลูกประคบ
ผู้วิจัย นางสาวกนกการณ์ บุญเรือง นายอภิวิชญ์ มะนะโส
ปีการศึกษา 2567
วันที่เผยแพร่ 30 มกราคม 2568
บทคัดย่อ
ประเด็นการนำเสนอ
1. ความสำคัญของ
“แนวปฏิบัติที่ดี”
สัมพันธภาพภายในครอบครัวที่ดี คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ประกอบไปด้วยพ่อ
แม่ ลูก หรือบุคคลอื่นๆ ภายในครอบครัวที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นมาจากความรักผ่านกิจกรรมต่างๆที่ลงมือทำร่วมกัน ทั้งการพูดคุยปรึกษา
การออกไปท่องเที่ยวด้วยกัน สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การมีเวลาให้กัน การเคารพกัน และการให้เกียรติกัน
เพื่อสร้างความสุขภายในครอบครัวได้อย่างยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ของคนในสังคมมีผลต่อการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นอย่างมาก
เช่น นักเรียนใช้เวลาว่างเล่นเกมหรือเล่น
ติ๊กต๊อกมากเกินไป ผู้ปกครองใช้เวลาหลังจากการทำงานอยู่ในสังคมออนไลน์
จนขาดการดูแลเอาใจใส่บุตรหลานเท่าที่ควร
ทั้งนี้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยูงงามมีการดำเนินงานกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับครูและโรงเรียน
รวมถึงรับทราบถึงปัญหาของผู้เรียนในเบื้องต้น ซึ่งผลจากการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกปีการศึกษาส่วนใหญ่พบว่า
นักเรียนมีพฤติกรรมที่ติดโทรศัพท์มากและใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ อีกทั้งความเป็นอยู่ของบางครอบครัวมีผู้ปกครองทำงานอยู่ต่างถิ่น
นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาจจะมีปัญหาสุขภาพ
เช่น อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
เกิดความลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนไม่มีความรู้พื้นฐานในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในบ้าน
โรงเรียนตระหนักถึงปัญหานี้ จึงมีการดำเนินงานตาม SAFE MODEL เพื่อดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์แพทย์แผนไทย
ด้วยสมุนไพรลูกประคบ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน 1.
S:Students 2. A:Activity) 3. F:Family)
4. E:Exchange
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสมุนไพรในการทำลูกประคบ ส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
และสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว โรงเรียน และชุมชนได้ ซึ่งผลการดำเนินงาน ครู
นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
สามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้าน วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร
ไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุและดำเนินชีวิตประจำวัน
นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เป็นการสานสัมพันธภาพในครอบครัวให้มีความรักความอบอุ่นมากยิ่งขึ้น
2.
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ
2.๑ วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสมุนไพรในการทำลูกประคบ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวได้
2.๒
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
๑.
นักเรียน ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสมุนไพรในการทำลูกประคบ
๒.
นักเรียน ร้อยละ ๘๐ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๓.
นักเรียน ร้อยละ ๘๐ มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
เชิงคุณภาพ
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมลูกประคบ
สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ดูแลและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว โรงเรียน
และชุมชนได้